วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น

1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้  Keyword ว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย น้าหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ( Touch-screen )ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android IOS และ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G 
ดังนั้นแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้คานิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปเช่น แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC ) ซึ่งมาจากคาว่า Tablet Personal Computer และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet )  นอกจากนี้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC ) นับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กาลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่ถูกนามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงทาให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้กำหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน
ที่มา : http://www.tabletd.com/
           http://www .addkutec3.com

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งในความเป็นจริงประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งอาเซียน โดยมี ๓ เสาหลัก ได้แก่ ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง และความร่วมมือทางสังคม วัฒนธรรม ซึ่งเสาหลักความร่วมมือทางสังคมมีความก้าวหน้ามากที่สุด โดย ศธ.ได้เตรียมความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนี้
1.จัดให้มีหลักสูตรอาเซียนศึกษา เพื่อให้คนไทยเข้าใจอาเซียน เข้าใจการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีวัฒนธรรมการกิน การอยู่ การดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน จึงจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น จีน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่ง ศธ.จะสร้างหลักสูตรที่สามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องภายใต้การรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกันของคนจำนวนกว่า ๖๐๐ ล้านคน โดยจะเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
2.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ซึ่งขณะนี้ประเทศจีนมีความประสงค์จะส่งครูมาสอนในโรงเรียนไทยเป็นจำนวนมาก
3.การแลกเปลี่ยน ICT ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะต้องเชื่อมโยงภายในประชาคมอาเซียนกันได้ ซึ่งได้มีการจัดตั้ง ASEAN University และ Cyber University เพื่อการเชื่อมโยง นอกจากนี้ยังได้เตรียมการเพื่อให้มีการรับรองคุณวุฒิการศึกษาระหว่างกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เรียน ซึ่งขณะนี้ไทย-จีน และไทย-มาเลเซีย สามารถรับรองคุณวุฒิได้แล้ว แต่สำหรับฟิลิปปินส์ยังไม่สามารถรับรองได้
4.การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของประชาคมอาเซียน ศธ.ได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนที่จบชั้น ป.๖ สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการค้นคว้าหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต และสื่อการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยได้เร่งผลักดันและดำเนินการในหลายด้าน เช่น
๑) สร้างศูนย์อำนวยการเพื่อให้ครูเจ้าของภาษามาสอน ครูเกษียณอายุก่อนกำหนด และครูอาสาสมัครจากประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน และฟิลิปปินส์ มาสอนภาษาในโรงเรียน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
๒) พัฒนาการเรียนการสอนแบบ English for Integrated Studies (EIS) จะมีการบูรณาการการสอนภาษาอังกฤษในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดตั้งงบประมาณเพื่อให้ครูที่จะสอนวิชาเหล่านี้ ได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกัน นักเรียนก็สามารถเชื่อมโยงและพูดคุยกับเพื่อนต่างชาติในประชาคมอาเซียนได้
๓) พัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคต (The Global Class) ซึ่งเป็นห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย เช่น การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ การสอนภาษาอังกฤษของติวเตอร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม โดยครูจะเป็นผู้ควบคุมการสอนและทดสอบความเข้าใจของนักเรียน หากต้องการจะให้สอนซ้ำในช่วงใด ก็สามารถทำได้ทันที ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล โรงเรียนดีประจำอำเภอ และลงไปสู่โรงเรียนดีประจำตำบล
๔) การอบรมภาษาอังกฤษให้กับครู เพื่อให้ครูยุคใหม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และใช้ ICT ได้ ซึ่งในยุคปัจจุบันระบบการศึกษาต้องรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและครูจะต้องเท่าทันต่อเทคโนโลยีด้วย


3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
"การที่ครูมีความรู้  ความสามารถ  และแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
และได้พูดถึง "ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ"โดยหยิบยกมาจาก Diann De Pasquale ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้เสนอว่า ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน  ควรมีพฤติกรรม  7 ประการ คือ
1.หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน
2. อยู่กับปัจจุบัน /ทันสมัย
3. หาข้อมูล มีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก
4. ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง
7. ท้าทายให้เด็กได้คิด
จากบทความข้างต้นของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง  สามารถสรุปได้ว่า ครูจัดอยู่ใน วิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเป็นการเฉพาะ เป็นวิชาชีพที่มีผลกระทบต่อผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ

4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
การใช้ Blog สนับสนุนการเรียนการสอน  จะช่วยให้ทั้ง ผู้เรียนและผู้สอนสื่อสารข้อมูลข่าวสารถึงกันได้อย่างสะดวก  และเป็นโอกาสให้คนอื่นๆที่เข้าใช้อินเตอร์เน็ตได้  สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น ต่อยอดความรู้ความคิดได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย  นอก จากนี้ Blog ยังสามารถเป็นแหล่งจัดเก็บและนำเสนอผล งานของครูและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี  การพัฒนาความรู้  ความสามารถให้ครูเข้าใจและสามารถสร้าง Blog เพื่อ ใช้ในการเรียนการสอนได้  จะเป็นหนทางไปสู่การปฏิรูป การเรียนการสอนให้เป็นผลสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
          มีความพยายามพอสมควร เพราะการใช้ Blog เราตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์ตลอดก็เป็นเรื่องไม่ยากเลย และสนุกในการใช้ Blog อีกด้วย
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
          เข้าเรียนทุกคาบ เพราะเป็นวิชาไม่หน้าเบื่อ เรียนแล้วมีความสุข
 4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
          ทำงานส่งตรงเวลาทุกครั้ง
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
          ใช้คิดรวบยอดในการทำงาน พิจารณาเอาแต่จุดสำคัญ  และประเด็นการทำงานให้ตรงตามเป้าหมายที่อาจารย์กำหนดไว้
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
           มีความสัตย์จริง
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
          เกรด A  เพราะคิดว่าการทำ Blog ก็มีความรู้สึกชอบเพราะฉะนั้นสิ่งเราชอบก็สามารถทำงานออกมาได้ดี

                


วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 10


วันแม่แห่งชาติ

       

วันแม่ปีนี้ลูกและน้องๆขอให้ "แม่" ขอให้มีความสุข  สุขภาพแข็งแรง
 และเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับลูกและน้องๆไปนานๆ  
พวกเราอยากบอกแม่ว่า "หนูรักแม่" ค่ะ

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9


ลักษณะการจัดชั้นเรียนที่ดี
ในห้องหรือชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ และจัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง  และห้องเรียนที่ดีจะต้องใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้อง ประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆได้  นอกจากนี้จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ  และสร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียนได้อีกด้วย


กิจกรรมที่ 8


ครูมืออาชีพในทัศนคติ
ในความคิดของดิฉันจะต้องมี ด้านคือ ด้านคุณลักษณะ ด้านความรู้ของครู ด้านการถ่ายทอดความรู้ คือ   
ด้านคุณลักษณะ มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และพร้อมที่จะพัฒนาวิชาชีพของตนอยู่เสมอ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างแก่ผู้เรียน ทั้งด้านศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย สุขนิสัย และอุปนิสัย ตลอดจนมีความเป็นประชาธิปไตย  ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  มีความเมตตาแก่ศิษย์ และเห็นคุณค่าของศิษย์ มีสุขภาพสมบูรณ์  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิชาการ และสามารถใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้  มีบทบาทในการพัฒนาชุมชน และสามารถเป็นผู้นำชุมชนได้  สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภาษา และการวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นครูแบบใหม่ในระบบสากลได้ คือ เป็นครูที่เน้นความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อผู้เรียนเป็นหลัก แนะนำผู้เรียนสามารถพัฒนาเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพและสร้างสรรค์ และให้ข้อมูลสะท้อนกลับผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่องรู้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพราะการศึกษายุคใหม่เป็นการศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์มากขึ้น เป็นครูที่ต้องไปหานักเรียนมากขึ้น เข้าเยี่ยมชุมชนได้มากขึ้น
ด้านความรู้ของครู  มีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างแท้จริง สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีในศาสตร์ความรู้มาสู่การปฏิบัติได้ ทั้งการปฏิบัติในระดับสากลและในระดับท้องถิ่น มีความรู้ด้านการวิจัย วิทยาการคอมพิวเตอร์และภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรู้ มีความรู้ด้านเทคนิคการสอน จิตวิทยา การวัดและประเมินผล และสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รู้ข้อมูลข่าวสารรอบตัว และเรื่องราวในท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และฝึกให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์วิจารณ์ได้
ด้านการถ่ายทอดความรู้  สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ เพื่อจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่น่าสนใจ และผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียน ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงความรู้นั้นสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรือใช้ในการเรียนรู้ต่อไป สามารถอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย สุขนิสัย และอุปนิสัย รวมทั้งรักในความเป็นประชาธิปไตย เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนใฝ่รู้ และก้าวทันเทคโนโลยี ตลอดจนสามารถใช้ภาษา สื่อสารกันได้ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถ พัฒนาให้ผู้เรียนมองกว้าง คิดไกล และมีวิจารณญาณที่จะวิเคราะห์และเลือกใช้ข่าวสารข้อมูลให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้ พัฒนาให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาชุมชน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนได้


วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
บทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
การจัดการศึกษาควรมุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ควรมุ่ง เน้นการฝึกทักษะการคิดของผู้เรียน และหล่อหลอมให้ผู้เรียนมีความคิดที่สร้างสรรค์ จะเห็นว่าการจัดการศึกษาระดับชาติได้มีแนวทางเด่นชัดที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้มีการฝึกให้ว่างผู้เรียนเท่านั้นซึ่งการจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้ สอดคล้องกับแนวการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความเชื่อของครูที่เกิดจากการทำ ความเข้าใจการคิดและการให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน แล้วนำมาพิจารณาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความเข้าใจทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดของนักเรียนและการสอนแนะให้รู้คิดนำมาซึ่งหลักการของการจัดการเรียนรู้เป็นแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ดังนี้
1. การจัดการเรียนการสอนควรพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนโดยเน้นที่ความสำคัญระหว่างทักษะและการแก้ปัญหาใช้การแก้ปัญหาเป็นศูนย์รวมของการเรียนการสอน
2. การจัดการเรียนการสอนควรจัดสถานการณ์ให้นักเรียนลงมือทำกิจกรรมให้นักเรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเองด้วยความเข้าใจ
3. นักเรียนควรสามารถเชื่อมโยงปัญหา มโนทัศน์หรือทักษะ กับความรู้เดิมที่มีอยู่
4. เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนแบบนี้อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความคิดของนักเรียน จึงต้องมีการประเมินอย่างสม่ำเสมอๆ
จากที่กล่าวมาเห็นได้ว่าการสอนแนะให้รู้คิดเป็นแนวการสอนรูปแบบหนึ่งที่สอดคล้องหลักการจัดการศึกษาระดับชาติที่เน้นทักษะการคิดของผู้เรียน สามารถสอดแทรกทักษะ/กระบวนการต่างๆ เช่น ทักษะการให้เหตุผล ทักษะการเชื่อมโยง เข้าไปในการจัดการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถฝึกการคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์และสามารถให้เหตุผลประกอบได้ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาเข้ากับชีวิตจริง เห็นถึงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับชีวิตจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะนำความรู้ในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่จะสอนเป็นอย่างดี และใช้หลักการแก้ปัญหาเป็นเป้าหมายในการเรียนการสอน เข้าใจความคิดของผู้เรียนในการแก้ปัญหาต่างๆ การตัดสินของผู้สอนมีฐานคิดจากความรู้ของผู้สอนที่มีความเข้าใจในความคิดของผู้เรียน นอกจากนี้ยังมีบรรยากาศในชั้นเรียนที่จัดการเรียนรู้เพื่อสอนแนะให้รู้คิด จากนั้นลักษณะของห้องเรียนแบบเดิมที่ผู้เรียนจะมีภาระงานและทำตามที่ผู้สอบอกให้ทำ จะมุ่งประเด็นไปที่ขั้นตอนการคำนวณเพื่อหาคำตอบจากแต่ละคำถาม ผู้สอนคาดหวังให้ผู้เรียนทุกคนได้กระทำในส่วนที่เหมือนกันเป็นงานประจำ และมีความรู้คณิตศาสตร์ที่เหมือนกัน ในขณะที่ห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้เพื่อชี้แนะการรู้คิดเป็นที่ซึ่งสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหาในแนวทางที่แตกต่างกัน โดยผู้สอนค่อยดูและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                คือ จะการสอดแทรกการฝึกเน้นการใช้ทักษะการให้เหตุผลและการเชื่อมโยงไปด้วย เพื่อให้มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และจะออกแบบการเรียนการสอนโดยที่ ครูจะต้องนำเสนอปัญหาหรือสถานการณ์ในชีวิตจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากนั้นครูและให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับปัญหา นำวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์/ปัญหาเพื่อนำมาอภิปรายหาคำตอบ โดยในระหว่างนักเรียนทำกิจกรรมครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวก และใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด รวมทั้งให้คำแนะนำเมื่อนักเรียนเกิดข้อคำถามหรือปัญหา และการนำเสนอคำตอบพร้อมทั้งเหตุผลที่ใช้จากนั้นครูและนักเรียนทั้งชั้นร่วมกันถามให้นักเรียนได้แสดงความคิดหรือเหตุผลที่ใช้เพื่อให้เกิดการแสดงเหตุผลที่ครอบคลุมและสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนี้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อบูรณาการคำตอบแนวคิด และเหตุผลที่ใช้จากการนำเสนอของนักเรียนแต่ละกลุ่มย่อย โดยครูเป็นผู้ใช้คำถามนำให้เกิดการอภิปราย และสรุปเป็นประเด็นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
           ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรากล่าวเสมอว่าทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน  เพราะตลอดระยะเวลาที่ได้ถวายงานมา  30  ปี นั้นได้ทรงสอนเรื่องแผ่นดินให้รู้จักเข้าใจดินน้ำลมไฟ  สอนให้รู้จักชีวิตสอนให้รู้จักใช้พฤติกรรมในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น และด้วยพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ที่เกี่ยวกับครูพระองค์ท่านเคยรับสั่งบอกว่า  “ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนเป็นสำคัญ” ทำให้เราเห็นว่าพระองค์ท่านให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ในความเป็นครูของพระองค์ท่านและยังสอนให้เราอยู่เศรษฐกิจพอเพียงได้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
คือ ในการปลูกฝังความรู้  ความคิด  และจิตใจของเยาวชน โดยมีหลักวิชาที่ถูกต้องแน่นแฟ้น  และแจ่มแจ้ง มีทั้งคุณความดี  และเอื้ออารีปรารถนาดีที่จะถ่ายทอด  เผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่นให้มีความรู้ความเข้าใจที่ดี  นอกจากนี้สอนให้ผู้เรียนดำรงชีวิตอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับการเรียนการสอนไปด้วย
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                 คือ จะเริ่มต้นจากการเสริมสร้างผู้เรียนให้มีการเรียนรู้วิชาการและทักษะต่างๆที่จำเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆและอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงได้ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณธรรม จนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์วิทยาอย่างสมดุล เพื่อจะได้มีความเกรงกลัวและละอายต่อการประพฤติผิดมิชอบ ไม่ตระหนี่ เป็นผู้ให้ เกื้อกูล แบ่งปัน มีสติยั้งคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ หรือกระทำการใดๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำรงชีวิต โดยสามารถคิดและกระทำบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล พอเหมาะ พอประมาณกับสถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคล ในแต่ละสถานการณ์ แล้วเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้ จนผู้เรียนสามารถทำตนให้เป็นพึ่งของตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7


1. สอนเรื่องอะไร   ผู้สอนชือ  ระดับชั้นที่สอน
เรื่อง เหรียญสองหน้า ตอน1  ผู้สอน คุณครูโฉมนภา วัชรัมพร
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนสายปัญญา รังสิต 

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
คือเป็นการสอนเกี่ยวกับการบวกลบเลขจำนวนเต็มบวก และเลขจำนวนเต็มลบ โดยครูใช้สื่อการสอนเป็นเหรียญซึ่งมีสองด้านคือ ด้านที่เป็นจำนวนเต็มบวก และด้านที่มีจำนวนเต็มลบ  เพื่อจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ดังต่อไปนี้
1. นักเรียนเกิดการเข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับการบวกที่มีทั้งเลขจำนวนเต็มบวก และจำนวนเต็มลบ โดยการใช้เหรียญ เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น
2. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการคิดแล้ว ครูฝึกนักเรียนให้คิดคำนวณตัวเลขหลายข้อเพื่อให้เกิดความชำนาญ
3. ก่อนสอนด้วยสื่อการสอน ครูทบทวนสิ่งที่ครูสอนเนื้อหาไปแล้ว เป็นการทบทวนความเข้าใจก่อนการใช้เหรียญคิด

3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
1.ครูควรสรุป concept ในการบวกเลขอีกครั้ง นอกจากให้นักเรียนช่วยสรุปแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
2. ระหว่างนักเรียนปฏิบัติ ครูควรเดินดูนักเรียน และถ้าไม่เข้าใจ ก็จะเข้าไปอธิบายเป็นรายบุคคล
3. ครูอาจสอนให้นักเรียนทำจากเหรียญก่อนการสอนเนื้อหา แล้วให้เขาคิดเองว่า ผลการคำนวณจากโจทย์แต่ละแบบได้อย่างไร ถ้าเห็นรูปแบบคำตอบที่มีลักษณะคล้ายกันหลายครั้งสรุปว่าอย่างไร เช่น จำนวนเต็มลบ บวกจำนวนเต็มลบ จะได้เลขจำนวนเต็มลบ ซึ่งวิธีการนี้ฝึกให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเองก่อน จากนั้นครูจึงสอนเนื้อหา

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
1. นั่งเรียนที่โต๊ะโดยนั่งเป็นคู่
2. ครูควรเดินดูตามโต๊ะ ถ้านักเรียนไม่เข้าใจจะได้อธิบาย
3. เมื่อฝึกการคิดคำนวณจากเหรียญสองด้าน จนคล่องแล้ว ครูควรให้นักเรียนคำนวณตัวเลขจำนวนเต็มโดยไม่มีเหรียญ




กิจกรรมที่ 6


                                             
เรื่องราว ความรักความผูกพันธ์กับเพื่อนๆๆ "