วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
บทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
การจัดการศึกษาควรมุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ควรมุ่ง เน้นการฝึกทักษะการคิดของผู้เรียน และหล่อหลอมให้ผู้เรียนมีความคิดที่สร้างสรรค์ จะเห็นว่าการจัดการศึกษาระดับชาติได้มีแนวทางเด่นชัดที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้มีการฝึกให้ว่างผู้เรียนเท่านั้นซึ่งการจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้ สอดคล้องกับแนวการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความเชื่อของครูที่เกิดจากการทำ ความเข้าใจการคิดและการให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน แล้วนำมาพิจารณาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความเข้าใจทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดของนักเรียนและการสอนแนะให้รู้คิดนำมาซึ่งหลักการของการจัดการเรียนรู้เป็นแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ดังนี้
1. การจัดการเรียนการสอนควรพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนโดยเน้นที่ความสำคัญระหว่างทักษะและการแก้ปัญหาใช้การแก้ปัญหาเป็นศูนย์รวมของการเรียนการสอน
2. การจัดการเรียนการสอนควรจัดสถานการณ์ให้นักเรียนลงมือทำกิจกรรมให้นักเรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเองด้วยความเข้าใจ
3. นักเรียนควรสามารถเชื่อมโยงปัญหา มโนทัศน์หรือทักษะ กับความรู้เดิมที่มีอยู่
4. เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนแบบนี้อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความคิดของนักเรียน จึงต้องมีการประเมินอย่างสม่ำเสมอๆ
จากที่กล่าวมาเห็นได้ว่าการสอนแนะให้รู้คิดเป็นแนวการสอนรูปแบบหนึ่งที่สอดคล้องหลักการจัดการศึกษาระดับชาติที่เน้นทักษะการคิดของผู้เรียน สามารถสอดแทรกทักษะ/กระบวนการต่างๆ เช่น ทักษะการให้เหตุผล ทักษะการเชื่อมโยง เข้าไปในการจัดการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถฝึกการคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์และสามารถให้เหตุผลประกอบได้ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาเข้ากับชีวิตจริง เห็นถึงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับชีวิตจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะนำความรู้ในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่จะสอนเป็นอย่างดี และใช้หลักการแก้ปัญหาเป็นเป้าหมายในการเรียนการสอน เข้าใจความคิดของผู้เรียนในการแก้ปัญหาต่างๆ การตัดสินของผู้สอนมีฐานคิดจากความรู้ของผู้สอนที่มีความเข้าใจในความคิดของผู้เรียน นอกจากนี้ยังมีบรรยากาศในชั้นเรียนที่จัดการเรียนรู้เพื่อสอนแนะให้รู้คิด จากนั้นลักษณะของห้องเรียนแบบเดิมที่ผู้เรียนจะมีภาระงานและทำตามที่ผู้สอบอกให้ทำ จะมุ่งประเด็นไปที่ขั้นตอนการคำนวณเพื่อหาคำตอบจากแต่ละคำถาม ผู้สอนคาดหวังให้ผู้เรียนทุกคนได้กระทำในส่วนที่เหมือนกันเป็นงานประจำ และมีความรู้คณิตศาสตร์ที่เหมือนกัน ในขณะที่ห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้เพื่อชี้แนะการรู้คิดเป็นที่ซึ่งสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหาในแนวทางที่แตกต่างกัน โดยผู้สอนค่อยดูและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                คือ จะการสอดแทรกการฝึกเน้นการใช้ทักษะการให้เหตุผลและการเชื่อมโยงไปด้วย เพื่อให้มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และจะออกแบบการเรียนการสอนโดยที่ ครูจะต้องนำเสนอปัญหาหรือสถานการณ์ในชีวิตจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากนั้นครูและให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับปัญหา นำวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์/ปัญหาเพื่อนำมาอภิปรายหาคำตอบ โดยในระหว่างนักเรียนทำกิจกรรมครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวก และใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด รวมทั้งให้คำแนะนำเมื่อนักเรียนเกิดข้อคำถามหรือปัญหา และการนำเสนอคำตอบพร้อมทั้งเหตุผลที่ใช้จากนั้นครูและนักเรียนทั้งชั้นร่วมกันถามให้นักเรียนได้แสดงความคิดหรือเหตุผลที่ใช้เพื่อให้เกิดการแสดงเหตุผลที่ครอบคลุมและสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนี้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อบูรณาการคำตอบแนวคิด และเหตุผลที่ใช้จากการนำเสนอของนักเรียนแต่ละกลุ่มย่อย โดยครูเป็นผู้ใช้คำถามนำให้เกิดการอภิปราย และสรุปเป็นประเด็นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
           ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรากล่าวเสมอว่าทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน  เพราะตลอดระยะเวลาที่ได้ถวายงานมา  30  ปี นั้นได้ทรงสอนเรื่องแผ่นดินให้รู้จักเข้าใจดินน้ำลมไฟ  สอนให้รู้จักชีวิตสอนให้รู้จักใช้พฤติกรรมในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น และด้วยพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ที่เกี่ยวกับครูพระองค์ท่านเคยรับสั่งบอกว่า  “ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนเป็นสำคัญ” ทำให้เราเห็นว่าพระองค์ท่านให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ในความเป็นครูของพระองค์ท่านและยังสอนให้เราอยู่เศรษฐกิจพอเพียงได้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
คือ ในการปลูกฝังความรู้  ความคิด  และจิตใจของเยาวชน โดยมีหลักวิชาที่ถูกต้องแน่นแฟ้น  และแจ่มแจ้ง มีทั้งคุณความดี  และเอื้ออารีปรารถนาดีที่จะถ่ายทอด  เผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่นให้มีความรู้ความเข้าใจที่ดี  นอกจากนี้สอนให้ผู้เรียนดำรงชีวิตอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับการเรียนการสอนไปด้วย
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                 คือ จะเริ่มต้นจากการเสริมสร้างผู้เรียนให้มีการเรียนรู้วิชาการและทักษะต่างๆที่จำเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆและอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงได้ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณธรรม จนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์วิทยาอย่างสมดุล เพื่อจะได้มีความเกรงกลัวและละอายต่อการประพฤติผิดมิชอบ ไม่ตระหนี่ เป็นผู้ให้ เกื้อกูล แบ่งปัน มีสติยั้งคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ หรือกระทำการใดๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำรงชีวิต โดยสามารถคิดและกระทำบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล พอเหมาะ พอประมาณกับสถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคล ในแต่ละสถานการณ์ แล้วเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้ จนผู้เรียนสามารถทำตนให้เป็นพึ่งของตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7


1. สอนเรื่องอะไร   ผู้สอนชือ  ระดับชั้นที่สอน
เรื่อง เหรียญสองหน้า ตอน1  ผู้สอน คุณครูโฉมนภา วัชรัมพร
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนสายปัญญา รังสิต 

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
คือเป็นการสอนเกี่ยวกับการบวกลบเลขจำนวนเต็มบวก และเลขจำนวนเต็มลบ โดยครูใช้สื่อการสอนเป็นเหรียญซึ่งมีสองด้านคือ ด้านที่เป็นจำนวนเต็มบวก และด้านที่มีจำนวนเต็มลบ  เพื่อจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ดังต่อไปนี้
1. นักเรียนเกิดการเข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับการบวกที่มีทั้งเลขจำนวนเต็มบวก และจำนวนเต็มลบ โดยการใช้เหรียญ เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น
2. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการคิดแล้ว ครูฝึกนักเรียนให้คิดคำนวณตัวเลขหลายข้อเพื่อให้เกิดความชำนาญ
3. ก่อนสอนด้วยสื่อการสอน ครูทบทวนสิ่งที่ครูสอนเนื้อหาไปแล้ว เป็นการทบทวนความเข้าใจก่อนการใช้เหรียญคิด

3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
1.ครูควรสรุป concept ในการบวกเลขอีกครั้ง นอกจากให้นักเรียนช่วยสรุปแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
2. ระหว่างนักเรียนปฏิบัติ ครูควรเดินดูนักเรียน และถ้าไม่เข้าใจ ก็จะเข้าไปอธิบายเป็นรายบุคคล
3. ครูอาจสอนให้นักเรียนทำจากเหรียญก่อนการสอนเนื้อหา แล้วให้เขาคิดเองว่า ผลการคำนวณจากโจทย์แต่ละแบบได้อย่างไร ถ้าเห็นรูปแบบคำตอบที่มีลักษณะคล้ายกันหลายครั้งสรุปว่าอย่างไร เช่น จำนวนเต็มลบ บวกจำนวนเต็มลบ จะได้เลขจำนวนเต็มลบ ซึ่งวิธีการนี้ฝึกให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเองก่อน จากนั้นครูจึงสอนเนื้อหา

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
1. นั่งเรียนที่โต๊ะโดยนั่งเป็นคู่
2. ครูควรเดินดูตามโต๊ะ ถ้านักเรียนไม่เข้าใจจะได้อธิบาย
3. เมื่อฝึกการคิดคำนวณจากเหรียญสองด้าน จนคล่องแล้ว ครูควรให้นักเรียนคำนวณตัวเลขจำนวนเต็มโดยไม่มีเหรียญ




กิจกรรมที่ 6


                                             
เรื่องราว ความรักความผูกพันธ์กับเพื่อนๆๆ "

กิจกรรมที่ 5


ประวัติครูที่ชอบ

คุณครูอารี  ทองทิพย์  สอนที่โรงเรียนวัดคันธมาลี 

1.ประวัติการศึกษาย่อ ๆ

วุฒิ
วิชาเอก
วัน/เดือน/ปี
ชื่อสถานศึกษา
ศษ..
ประถมศึกษา
27 เมษายน  2530
มหาวิทยาสุโขทัยธรรมราช  อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี
ปกศ. สูง
ภาษาไทย
12 มีนาคม  2524
วิทยาลัยครูภูเก็ต  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต
..5
ศิลป์-คณิต
3 มีนาคม  2522
โรงเรียนจรัสพิชากร  อ.เมือง  จ.นครศรีธรรมราช

..3
-
24 มีนาคม  2520
โรงเรียนสัตรีมัธยมทวีศิลป์  อ.สิชล  จ.นครศรีธรรมราช
.7
-
23 มีนาคม  2517
โรงเรียนวัดเทพราช  อ.สิชล  จ.นครศรีธรรมราช

2.ประวัติการทำงาน ย่อ ๆ
·       - วันที่  1  กรกฎาคม  2526  เริ่มรับราชการในตำแหน่ง  ครูระดับ  2  โรงเรียนบ้านแสนสุข 
    อำเภอเดชอุดม  จังหวัดอุบลราชธานี
·       - วันที่  27  เมษายน  2530  ปรับวุฒิ  ศษ.ได้ตำแหน่ง  อาจารย์  1
·      -  วันที่  พฤษภาคม  2531  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งโรงเรียนบ้านบางปรน  อำเภอทุ่งใหญ่ 
·       - วันที่  20  เมษายน  2532  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง  อาจารย์  โรงเรียนวัดคันธมาลี 
·       - วันที่  29  พฤศจิกายน  2537  ได้เลื่อนตำแหน่ง  อาจารย์ 
·       - วันที่  ตุลาคม    24  ธันวาคม  2547  ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นครูชำนาญการอันดับ  ค..2
·       - วันที่  30  มีนาคม  2553  ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นครูชำนาญการพิเศษ  อันดับ  ค..3
 
 3.ผลงานของครูที่นักเรียนชอบ
จากการนำเทคนิคการสอนแบบเรียนปนเล่น  ไปทดลองใช้ในเรื่องการอ่าน  การเขียนและการคิดวิเคราะห์คำสระลดรูปและเปลี่ยนรูปด้วยเกมทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ผลการทดลองใช้ปรากฏว่านักเรียนสามารถอ่าน  เขียนและคิดวิเคราะห์คำสระลดรูปและเปลี่ยนรูปได้คล่องผลเป็นที่พอใจมาก  ครูจึงนำเทคนิคนี้และนำเรื่องนี้ไปขอเลื่อนเป็นวิทยาฐานะชำนาญการพิเศษ  (ค..3)

4.นักเรียนประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
เทคนิคในการสอนภาษาไทย  จะนำเทคนิค  “แบบเรียนปนเล่น”  มาใช้กับการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนมีความสุขสนุกสนานกับการเรียนการสอนมาก  ครูผู้สอนเองก็มีความสุขไปด้วย  นอกจากนี้เมื่อจบการเรียนการสอนแต่ครั้งครูและเพื่อนต้องให้ขวัญและกำลังใจ  โดยการปรบมือให้กับผู้ทำกิจกรรมได้สำเร็จ  ถึงแม้จะไม่รวดเร็วก็ต้องปรบมือให้เป็นขวัญกำลังใจ  และที่สำคัญครูเองจะต้องพัฒนาบุคลิกภาพให้ดูดี  กระตือรือร้น  เสียงดังฟังชัด  กล้าแสดงออกสามารถแสดงท่าทางประกอบที่ตนเอง  เล่าเรื่อง  หรือยกตัวอย่างให้สอดคล้องสมจริงสมจังกับสิ่งที่กำลังสอน

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4


1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
·                    1.ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนในเหตุผลสำหรับการตัดสินใจ
2. วิเคราะห์ลักษณะของปัญหาที่จะตัดสินใจ
3. ตรวจสอบทางเลือกต่างๆ ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดตามมาด้วย
4. การนำเอาผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ
6. ภาวะผู้นำที่เหมาะสม ผู้นำ หรือ หัวหน้าทีมควรทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะประเด็นที่สำคัญในการทำงานตามบทบาทของผู้นำ 
7. การตรวจสอบทบทวนผลงานและวิธีในการทำงาน ทีมงานที่ดีไม่เพียงแต่ดูจากลักษณะของทีม และบทบาทที่มีอยู่ในองค์กรเท่านั้น 
8. การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพพยายามที่จะรวบรวมทักษะต่างๆของแต่ละคน การพัฒนาบุคลากรในองค์การมักจะมองในเรื่องทักษะและความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่แล้ว ก็ทำการฝึกอบรมเพื่อปรับปรุงพัฒนาคนให้มีความสามารถสูงขึ้น อันจะมีผลดีในการทำงานให้ดีขึ้น

  2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร  ยกตัวอย่างประกอบ
·       การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
1. วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่ต้องการทำให้องค์การบรรลุผลสำเร็จที่คาดหวังไว้ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามภารกิจขององค์การ
- การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี โดยให้ผู้นำและสมาชิกภายในทีม มีส่วนร่วมในการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ควรกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ให้ชัดเจนที่ผลงานมากกว่าการกระทำ
- ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ใช้เป็นเครื่องมือในการรวมพลังในการทำงาน และใช้เป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในงาน
- คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ที่ดี คือ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เข้าใจได้ง่ายสามารถปฏิบัติได้จริง ไม่ขัดต่อข้อบังคับและนโยบายอื่นๆในหน่วยงาน 
2. ความเปิดเผยต่อกันและการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ สมาชิกในทีมจะต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา แก้ปัญหาอย่างเต็มใจและจริงใจ การแสดงความเปิดเผยของสมาชิกในทีมจะต้องปลอดภัย พูดคุยถึงปัญหาอย่างสบายใจ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี โดยมีการเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลอื่นในด้านความต้องการ ความคาดหวังความชอบหรือไม่ชอบ ความรู้ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด จุดเด่นจุดด้อยและอารมณ์ รวมทั้งความรู้สึก ความสนใจนิสัยใจคอ
3. การสนับสนุนและความไว้วางใจต่อกัน สมาชิกในทีมจะต้องไว้วางใจซึ่งกันและกันโดยทีละคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องกลัวว่าได้รับผลร้ายที่จะมีต่อเนื่องมาภายหลัง สามารถทำให้เกิดการเปิดเผยต่อกัน และกล้าที่จะเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี
4. ความร่วมมือและการให้ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ ผู้นำกลุ่มหรือทีมจะต้องทำงานอย่างหนักในอันที่จะทำให้เกิดความร่วมมือดังนี้
4.1 การสร้างความร่วมมือกับบุคคลอื่น ในการสร้างความร่วมมือเพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกันและมีบุคคลอยู่สองฝ่ายคือ ผู้ขอความร่วมมือ และผู้ให้ความร่วมมือ  ความร่วมมือจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายผู้ให้เต็มใจและยินดีจะให้ความร่วมมือเหตุผลที่ทำให้ขาดความร่วมมือไม่ช่วยเหลือกัน คือ การขัดผลประโยชน์ ไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่า สัมพันธภาพไม่ดี วัตถุประสงค์ของทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน ไม่เห็นด้วยกับวิธีทำงานขาดความพร้อมที่จะร่วมมือ หรืองานที่ขอความร่วมมือนั้น เลี่ยงภัยมากเกินไป หรือเพราะความไม่รับผิดชอบต่อผลงานส่วนรวม
4.2 การขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกันตามความคิด หรือ การกระทำที่เกิดขึ้นระหว่างสองคนขึ้นไป หรือระหว่างกลุ่ม โดยมีลักษณะที่ไม่สอดคล้อง ขัดแย้ง ขัดขวาง ไม่ถูกกันจึงทำให้ความคิดหรือการทำกิจกรรมร่วมกันนั้น เสียหาย หรือดำเนินไปได้ยากไม่ราบรื่น ทำให้การทำงานเป็นทีมลดลง นับเป็นปัญหา อุปสรรคที่สำคัญยิ่ง
- สาเหตุของความขัดแย้ง ผลประโยชน์ขัดกัน
- ความคิดไม่ตรงกัน หรือ องค์กรขัดแย้งกัน 
 - ความรู้ความสามารถต่างกัน ทำให้มีลักษณะการทำงานต่างกัน
- การเรียนรู้ต่างกัน ประสบการณ์ที่มีมาไม่เหมือนกัน
- เป้าหมายต่างกัน
4.3 วิธีแก้ความขัดแย้ง การแก้ความขัดแย้งเป็นเรื่องของทักษะเฉพาะบุคคล การแก้ปัญหาความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีม ควรใช้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่พูดในลักษณะที่แปลความหรือมุ่งตัดสินความ ไม่พูดในเชิงวิเคราะห์ ไม่พูดในลักษณะที่แสดงตนเหนือกว่าผู้อื่น  หรือไม่พูดในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด เสียหน้า อับอาย เจ็บใจ หรือการพยายามพูดหาประเด็นของความขัดแย้ง ไม่กล่าวโจมตีว่าใครผิดใครถูก
5. กระบวนการการทำงาน และการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสม งานที่มีประสิทธิภาพนั้นทุกคนควรจะคิดถึงงานหรือคิดถึงผลงานเป็นอันดับแรก ต่อมาควรวางแผนว่าทำอย่างไร งานจึงจะออกมาดีได้ดังที่เราต้องการ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะตัดสินใจนั้นจุดมุ่งหมายควรจะมีความชัดเจนและสมาชิกทุกคน ควรมีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของการทำงานเป็นอย่างดี