วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น

1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้  Keyword ว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย น้าหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ( Touch-screen )ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android IOS และ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G 
ดังนั้นแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้คานิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปเช่น แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC ) ซึ่งมาจากคาว่า Tablet Personal Computer และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet )  นอกจากนี้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC ) นับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กาลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่ถูกนามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงทาให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้กำหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน
ที่มา : http://www.tabletd.com/
           http://www .addkutec3.com

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งในความเป็นจริงประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งอาเซียน โดยมี ๓ เสาหลัก ได้แก่ ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง และความร่วมมือทางสังคม วัฒนธรรม ซึ่งเสาหลักความร่วมมือทางสังคมมีความก้าวหน้ามากที่สุด โดย ศธ.ได้เตรียมความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนี้
1.จัดให้มีหลักสูตรอาเซียนศึกษา เพื่อให้คนไทยเข้าใจอาเซียน เข้าใจการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีวัฒนธรรมการกิน การอยู่ การดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน จึงจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น จีน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่ง ศธ.จะสร้างหลักสูตรที่สามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องภายใต้การรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกันของคนจำนวนกว่า ๖๐๐ ล้านคน โดยจะเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
2.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ซึ่งขณะนี้ประเทศจีนมีความประสงค์จะส่งครูมาสอนในโรงเรียนไทยเป็นจำนวนมาก
3.การแลกเปลี่ยน ICT ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะต้องเชื่อมโยงภายในประชาคมอาเซียนกันได้ ซึ่งได้มีการจัดตั้ง ASEAN University และ Cyber University เพื่อการเชื่อมโยง นอกจากนี้ยังได้เตรียมการเพื่อให้มีการรับรองคุณวุฒิการศึกษาระหว่างกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เรียน ซึ่งขณะนี้ไทย-จีน และไทย-มาเลเซีย สามารถรับรองคุณวุฒิได้แล้ว แต่สำหรับฟิลิปปินส์ยังไม่สามารถรับรองได้
4.การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของประชาคมอาเซียน ศธ.ได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนที่จบชั้น ป.๖ สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการค้นคว้าหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต และสื่อการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยได้เร่งผลักดันและดำเนินการในหลายด้าน เช่น
๑) สร้างศูนย์อำนวยการเพื่อให้ครูเจ้าของภาษามาสอน ครูเกษียณอายุก่อนกำหนด และครูอาสาสมัครจากประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน และฟิลิปปินส์ มาสอนภาษาในโรงเรียน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
๒) พัฒนาการเรียนการสอนแบบ English for Integrated Studies (EIS) จะมีการบูรณาการการสอนภาษาอังกฤษในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดตั้งงบประมาณเพื่อให้ครูที่จะสอนวิชาเหล่านี้ ได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกัน นักเรียนก็สามารถเชื่อมโยงและพูดคุยกับเพื่อนต่างชาติในประชาคมอาเซียนได้
๓) พัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคต (The Global Class) ซึ่งเป็นห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย เช่น การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ การสอนภาษาอังกฤษของติวเตอร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม โดยครูจะเป็นผู้ควบคุมการสอนและทดสอบความเข้าใจของนักเรียน หากต้องการจะให้สอนซ้ำในช่วงใด ก็สามารถทำได้ทันที ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล โรงเรียนดีประจำอำเภอ และลงไปสู่โรงเรียนดีประจำตำบล
๔) การอบรมภาษาอังกฤษให้กับครู เพื่อให้ครูยุคใหม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และใช้ ICT ได้ ซึ่งในยุคปัจจุบันระบบการศึกษาต้องรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและครูจะต้องเท่าทันต่อเทคโนโลยีด้วย


3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
"การที่ครูมีความรู้  ความสามารถ  และแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
และได้พูดถึง "ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ"โดยหยิบยกมาจาก Diann De Pasquale ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้เสนอว่า ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน  ควรมีพฤติกรรม  7 ประการ คือ
1.หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน
2. อยู่กับปัจจุบัน /ทันสมัย
3. หาข้อมูล มีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก
4. ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง
7. ท้าทายให้เด็กได้คิด
จากบทความข้างต้นของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง  สามารถสรุปได้ว่า ครูจัดอยู่ใน วิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเป็นการเฉพาะ เป็นวิชาชีพที่มีผลกระทบต่อผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ

4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
การใช้ Blog สนับสนุนการเรียนการสอน  จะช่วยให้ทั้ง ผู้เรียนและผู้สอนสื่อสารข้อมูลข่าวสารถึงกันได้อย่างสะดวก  และเป็นโอกาสให้คนอื่นๆที่เข้าใช้อินเตอร์เน็ตได้  สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น ต่อยอดความรู้ความคิดได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย  นอก จากนี้ Blog ยังสามารถเป็นแหล่งจัดเก็บและนำเสนอผล งานของครูและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี  การพัฒนาความรู้  ความสามารถให้ครูเข้าใจและสามารถสร้าง Blog เพื่อ ใช้ในการเรียนการสอนได้  จะเป็นหนทางไปสู่การปฏิรูป การเรียนการสอนให้เป็นผลสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
          มีความพยายามพอสมควร เพราะการใช้ Blog เราตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์ตลอดก็เป็นเรื่องไม่ยากเลย และสนุกในการใช้ Blog อีกด้วย
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
          เข้าเรียนทุกคาบ เพราะเป็นวิชาไม่หน้าเบื่อ เรียนแล้วมีความสุข
 4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
          ทำงานส่งตรงเวลาทุกครั้ง
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
          ใช้คิดรวบยอดในการทำงาน พิจารณาเอาแต่จุดสำคัญ  และประเด็นการทำงานให้ตรงตามเป้าหมายที่อาจารย์กำหนดไว้
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
           มีความสัตย์จริง
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
          เกรด A  เพราะคิดว่าการทำ Blog ก็มีความรู้สึกชอบเพราะฉะนั้นสิ่งเราชอบก็สามารถทำงานออกมาได้ดี

                


วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 10


วันแม่แห่งชาติ

       

วันแม่ปีนี้ลูกและน้องๆขอให้ "แม่" ขอให้มีความสุข  สุขภาพแข็งแรง
 และเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับลูกและน้องๆไปนานๆ  
พวกเราอยากบอกแม่ว่า "หนูรักแม่" ค่ะ

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9


ลักษณะการจัดชั้นเรียนที่ดี
ในห้องหรือชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ และจัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง  และห้องเรียนที่ดีจะต้องใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้อง ประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆได้  นอกจากนี้จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ  และสร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียนได้อีกด้วย


กิจกรรมที่ 8


ครูมืออาชีพในทัศนคติ
ในความคิดของดิฉันจะต้องมี ด้านคือ ด้านคุณลักษณะ ด้านความรู้ของครู ด้านการถ่ายทอดความรู้ คือ   
ด้านคุณลักษณะ มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และพร้อมที่จะพัฒนาวิชาชีพของตนอยู่เสมอ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างแก่ผู้เรียน ทั้งด้านศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย สุขนิสัย และอุปนิสัย ตลอดจนมีความเป็นประชาธิปไตย  ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  มีความเมตตาแก่ศิษย์ และเห็นคุณค่าของศิษย์ มีสุขภาพสมบูรณ์  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิชาการ และสามารถใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้  มีบทบาทในการพัฒนาชุมชน และสามารถเป็นผู้นำชุมชนได้  สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ภาษา และการวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นครูแบบใหม่ในระบบสากลได้ คือ เป็นครูที่เน้นความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อผู้เรียนเป็นหลัก แนะนำผู้เรียนสามารถพัฒนาเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพและสร้างสรรค์ และให้ข้อมูลสะท้อนกลับผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่องรู้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพราะการศึกษายุคใหม่เป็นการศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์มากขึ้น เป็นครูที่ต้องไปหานักเรียนมากขึ้น เข้าเยี่ยมชุมชนได้มากขึ้น
ด้านความรู้ของครู  มีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างแท้จริง สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีในศาสตร์ความรู้มาสู่การปฏิบัติได้ ทั้งการปฏิบัติในระดับสากลและในระดับท้องถิ่น มีความรู้ด้านการวิจัย วิทยาการคอมพิวเตอร์และภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรู้ มีความรู้ด้านเทคนิคการสอน จิตวิทยา การวัดและประเมินผล และสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รู้ข้อมูลข่าวสารรอบตัว และเรื่องราวในท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และฝึกให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์วิจารณ์ได้
ด้านการถ่ายทอดความรู้  สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ เพื่อจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่น่าสนใจ และผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียน ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงความรู้นั้นสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรือใช้ในการเรียนรู้ต่อไป สามารถอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีศีลธรรม วัฒนธรรม กิจนิสัย สุขนิสัย และอุปนิสัย รวมทั้งรักในความเป็นประชาธิปไตย เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนใฝ่รู้ และก้าวทันเทคโนโลยี ตลอดจนสามารถใช้ภาษา สื่อสารกันได้ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถ พัฒนาให้ผู้เรียนมองกว้าง คิดไกล และมีวิจารณญาณที่จะวิเคราะห์และเลือกใช้ข่าวสารข้อมูลให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้ พัฒนาให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาชุมชน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนได้


วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
บทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
การจัดการศึกษาควรมุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และคุณธรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ควรมุ่ง เน้นการฝึกทักษะการคิดของผู้เรียน และหล่อหลอมให้ผู้เรียนมีความคิดที่สร้างสรรค์ จะเห็นว่าการจัดการศึกษาระดับชาติได้มีแนวทางเด่นชัดที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้มีการฝึกให้ว่างผู้เรียนเท่านั้นซึ่งการจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้ สอดคล้องกับแนวการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความเชื่อของครูที่เกิดจากการทำ ความเข้าใจการคิดและการให้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียน แล้วนำมาพิจารณาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความเข้าใจทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดของนักเรียนและการสอนแนะให้รู้คิดนำมาซึ่งหลักการของการจัดการเรียนรู้เป็นแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ดังนี้
1. การจัดการเรียนการสอนควรพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนโดยเน้นที่ความสำคัญระหว่างทักษะและการแก้ปัญหาใช้การแก้ปัญหาเป็นศูนย์รวมของการเรียนการสอน
2. การจัดการเรียนการสอนควรจัดสถานการณ์ให้นักเรียนลงมือทำกิจกรรมให้นักเรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเองด้วยความเข้าใจ
3. นักเรียนควรสามารถเชื่อมโยงปัญหา มโนทัศน์หรือทักษะ กับความรู้เดิมที่มีอยู่
4. เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนแบบนี้อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความคิดของนักเรียน จึงต้องมีการประเมินอย่างสม่ำเสมอๆ
จากที่กล่าวมาเห็นได้ว่าการสอนแนะให้รู้คิดเป็นแนวการสอนรูปแบบหนึ่งที่สอดคล้องหลักการจัดการศึกษาระดับชาติที่เน้นทักษะการคิดของผู้เรียน สามารถสอดแทรกทักษะ/กระบวนการต่างๆ เช่น ทักษะการให้เหตุผล ทักษะการเชื่อมโยง เข้าไปในการจัดการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถฝึกการคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์และสามารถให้เหตุผลประกอบได้ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาเข้ากับชีวิตจริง เห็นถึงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับชีวิตจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะนำความรู้ในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่จะสอนเป็นอย่างดี และใช้หลักการแก้ปัญหาเป็นเป้าหมายในการเรียนการสอน เข้าใจความคิดของผู้เรียนในการแก้ปัญหาต่างๆ การตัดสินของผู้สอนมีฐานคิดจากความรู้ของผู้สอนที่มีความเข้าใจในความคิดของผู้เรียน นอกจากนี้ยังมีบรรยากาศในชั้นเรียนที่จัดการเรียนรู้เพื่อสอนแนะให้รู้คิด จากนั้นลักษณะของห้องเรียนแบบเดิมที่ผู้เรียนจะมีภาระงานและทำตามที่ผู้สอบอกให้ทำ จะมุ่งประเด็นไปที่ขั้นตอนการคำนวณเพื่อหาคำตอบจากแต่ละคำถาม ผู้สอนคาดหวังให้ผู้เรียนทุกคนได้กระทำในส่วนที่เหมือนกันเป็นงานประจำ และมีความรู้คณิตศาสตร์ที่เหมือนกัน ในขณะที่ห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้เพื่อชี้แนะการรู้คิดเป็นที่ซึ่งสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหาในแนวทางที่แตกต่างกัน โดยผู้สอนค่อยดูและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                คือ จะการสอดแทรกการฝึกเน้นการใช้ทักษะการให้เหตุผลและการเชื่อมโยงไปด้วย เพื่อให้มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และจะออกแบบการเรียนการสอนโดยที่ ครูจะต้องนำเสนอปัญหาหรือสถานการณ์ในชีวิตจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากนั้นครูและให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับปัญหา นำวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์/ปัญหาเพื่อนำมาอภิปรายหาคำตอบ โดยในระหว่างนักเรียนทำกิจกรรมครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวก และใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด รวมทั้งให้คำแนะนำเมื่อนักเรียนเกิดข้อคำถามหรือปัญหา และการนำเสนอคำตอบพร้อมทั้งเหตุผลที่ใช้จากนั้นครูและนักเรียนทั้งชั้นร่วมกันถามให้นักเรียนได้แสดงความคิดหรือเหตุผลที่ใช้เพื่อให้เกิดการแสดงเหตุผลที่ครอบคลุมและสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนี้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อบูรณาการคำตอบแนวคิด และเหตุผลที่ใช้จากการนำเสนอของนักเรียนแต่ละกลุ่มย่อย โดยครูเป็นผู้ใช้คำถามนำให้เกิดการอภิปราย และสรุปเป็นประเด็นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
           ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรากล่าวเสมอว่าทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน  เพราะตลอดระยะเวลาที่ได้ถวายงานมา  30  ปี นั้นได้ทรงสอนเรื่องแผ่นดินให้รู้จักเข้าใจดินน้ำลมไฟ  สอนให้รู้จักชีวิตสอนให้รู้จักใช้พฤติกรรมในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น และด้วยพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ที่เกี่ยวกับครูพระองค์ท่านเคยรับสั่งบอกว่า  “ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนเป็นสำคัญ” ทำให้เราเห็นว่าพระองค์ท่านให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ในความเป็นครูของพระองค์ท่านและยังสอนให้เราอยู่เศรษฐกิจพอเพียงได้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
คือ ในการปลูกฝังความรู้  ความคิด  และจิตใจของเยาวชน โดยมีหลักวิชาที่ถูกต้องแน่นแฟ้น  และแจ่มแจ้ง มีทั้งคุณความดี  และเอื้ออารีปรารถนาดีที่จะถ่ายทอด  เผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่นให้มีความรู้ความเข้าใจที่ดี  นอกจากนี้สอนให้ผู้เรียนดำรงชีวิตอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับการเรียนการสอนไปด้วย
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
                 คือ จะเริ่มต้นจากการเสริมสร้างผู้เรียนให้มีการเรียนรู้วิชาการและทักษะต่างๆที่จำเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆและอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงได้ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณธรรม จนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์วิทยาอย่างสมดุล เพื่อจะได้มีความเกรงกลัวและละอายต่อการประพฤติผิดมิชอบ ไม่ตระหนี่ เป็นผู้ให้ เกื้อกูล แบ่งปัน มีสติยั้งคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ หรือกระทำการใดๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำรงชีวิต โดยสามารถคิดและกระทำบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล พอเหมาะ พอประมาณกับสถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคล ในแต่ละสถานการณ์ แล้วเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้ จนผู้เรียนสามารถทำตนให้เป็นพึ่งของตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7


1. สอนเรื่องอะไร   ผู้สอนชือ  ระดับชั้นที่สอน
เรื่อง เหรียญสองหน้า ตอน1  ผู้สอน คุณครูโฉมนภา วัชรัมพร
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนสายปัญญา รังสิต 

2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
คือเป็นการสอนเกี่ยวกับการบวกลบเลขจำนวนเต็มบวก และเลขจำนวนเต็มลบ โดยครูใช้สื่อการสอนเป็นเหรียญซึ่งมีสองด้านคือ ด้านที่เป็นจำนวนเต็มบวก และด้านที่มีจำนวนเต็มลบ  เพื่อจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ดังต่อไปนี้
1. นักเรียนเกิดการเข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับการบวกที่มีทั้งเลขจำนวนเต็มบวก และจำนวนเต็มลบ โดยการใช้เหรียญ เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น
2. เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการคิดแล้ว ครูฝึกนักเรียนให้คิดคำนวณตัวเลขหลายข้อเพื่อให้เกิดความชำนาญ
3. ก่อนสอนด้วยสื่อการสอน ครูทบทวนสิ่งที่ครูสอนเนื้อหาไปแล้ว เป็นการทบทวนความเข้าใจก่อนการใช้เหรียญคิด

3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
1.ครูควรสรุป concept ในการบวกเลขอีกครั้ง นอกจากให้นักเรียนช่วยสรุปแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
2. ระหว่างนักเรียนปฏิบัติ ครูควรเดินดูนักเรียน และถ้าไม่เข้าใจ ก็จะเข้าไปอธิบายเป็นรายบุคคล
3. ครูอาจสอนให้นักเรียนทำจากเหรียญก่อนการสอนเนื้อหา แล้วให้เขาคิดเองว่า ผลการคำนวณจากโจทย์แต่ละแบบได้อย่างไร ถ้าเห็นรูปแบบคำตอบที่มีลักษณะคล้ายกันหลายครั้งสรุปว่าอย่างไร เช่น จำนวนเต็มลบ บวกจำนวนเต็มลบ จะได้เลขจำนวนเต็มลบ ซึ่งวิธีการนี้ฝึกให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเองก่อน จากนั้นครูจึงสอนเนื้อหา

4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
1. นั่งเรียนที่โต๊ะโดยนั่งเป็นคู่
2. ครูควรเดินดูตามโต๊ะ ถ้านักเรียนไม่เข้าใจจะได้อธิบาย
3. เมื่อฝึกการคิดคำนวณจากเหรียญสองด้าน จนคล่องแล้ว ครูควรให้นักเรียนคำนวณตัวเลขจำนวนเต็มโดยไม่มีเหรียญ




กิจกรรมที่ 6


                                             
เรื่องราว ความรักความผูกพันธ์กับเพื่อนๆๆ "

กิจกรรมที่ 5


ประวัติครูที่ชอบ

คุณครูอารี  ทองทิพย์  สอนที่โรงเรียนวัดคันธมาลี 

1.ประวัติการศึกษาย่อ ๆ

วุฒิ
วิชาเอก
วัน/เดือน/ปี
ชื่อสถานศึกษา
ศษ..
ประถมศึกษา
27 เมษายน  2530
มหาวิทยาสุโขทัยธรรมราช  อ.ปากเกร็ด  จ.นนทบุรี
ปกศ. สูง
ภาษาไทย
12 มีนาคม  2524
วิทยาลัยครูภูเก็ต  อ.เมือง  จ.ภูเก็ต
..5
ศิลป์-คณิต
3 มีนาคม  2522
โรงเรียนจรัสพิชากร  อ.เมือง  จ.นครศรีธรรมราช

..3
-
24 มีนาคม  2520
โรงเรียนสัตรีมัธยมทวีศิลป์  อ.สิชล  จ.นครศรีธรรมราช
.7
-
23 มีนาคม  2517
โรงเรียนวัดเทพราช  อ.สิชล  จ.นครศรีธรรมราช

2.ประวัติการทำงาน ย่อ ๆ
·       - วันที่  1  กรกฎาคม  2526  เริ่มรับราชการในตำแหน่ง  ครูระดับ  2  โรงเรียนบ้านแสนสุข 
    อำเภอเดชอุดม  จังหวัดอุบลราชธานี
·       - วันที่  27  เมษายน  2530  ปรับวุฒิ  ศษ.ได้ตำแหน่ง  อาจารย์  1
·      -  วันที่  พฤษภาคม  2531  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งโรงเรียนบ้านบางปรน  อำเภอทุ่งใหญ่ 
·       - วันที่  20  เมษายน  2532  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง  อาจารย์  โรงเรียนวัดคันธมาลี 
·       - วันที่  29  พฤศจิกายน  2537  ได้เลื่อนตำแหน่ง  อาจารย์ 
·       - วันที่  ตุลาคม    24  ธันวาคม  2547  ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นครูชำนาญการอันดับ  ค..2
·       - วันที่  30  มีนาคม  2553  ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นครูชำนาญการพิเศษ  อันดับ  ค..3
 
 3.ผลงานของครูที่นักเรียนชอบ
จากการนำเทคนิคการสอนแบบเรียนปนเล่น  ไปทดลองใช้ในเรื่องการอ่าน  การเขียนและการคิดวิเคราะห์คำสระลดรูปและเปลี่ยนรูปด้วยเกมทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ผลการทดลองใช้ปรากฏว่านักเรียนสามารถอ่าน  เขียนและคิดวิเคราะห์คำสระลดรูปและเปลี่ยนรูปได้คล่องผลเป็นที่พอใจมาก  ครูจึงนำเทคนิคนี้และนำเรื่องนี้ไปขอเลื่อนเป็นวิทยาฐานะชำนาญการพิเศษ  (ค..3)

4.นักเรียนประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
เทคนิคในการสอนภาษาไทย  จะนำเทคนิค  “แบบเรียนปนเล่น”  มาใช้กับการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนมีความสุขสนุกสนานกับการเรียนการสอนมาก  ครูผู้สอนเองก็มีความสุขไปด้วย  นอกจากนี้เมื่อจบการเรียนการสอนแต่ครั้งครูและเพื่อนต้องให้ขวัญและกำลังใจ  โดยการปรบมือให้กับผู้ทำกิจกรรมได้สำเร็จ  ถึงแม้จะไม่รวดเร็วก็ต้องปรบมือให้เป็นขวัญกำลังใจ  และที่สำคัญครูเองจะต้องพัฒนาบุคลิกภาพให้ดูดี  กระตือรือร้น  เสียงดังฟังชัด  กล้าแสดงออกสามารถแสดงท่าทางประกอบที่ตนเอง  เล่าเรื่อง  หรือยกตัวอย่างให้สอดคล้องสมจริงสมจังกับสิ่งที่กำลังสอน

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4


1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
·                    1.ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนในเหตุผลสำหรับการตัดสินใจ
2. วิเคราะห์ลักษณะของปัญหาที่จะตัดสินใจ
3. ตรวจสอบทางเลือกต่างๆ ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดตามมาด้วย
4. การนำเอาผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ
6. ภาวะผู้นำที่เหมาะสม ผู้นำ หรือ หัวหน้าทีมควรทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะประเด็นที่สำคัญในการทำงานตามบทบาทของผู้นำ 
7. การตรวจสอบทบทวนผลงานและวิธีในการทำงาน ทีมงานที่ดีไม่เพียงแต่ดูจากลักษณะของทีม และบทบาทที่มีอยู่ในองค์กรเท่านั้น 
8. การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพพยายามที่จะรวบรวมทักษะต่างๆของแต่ละคน การพัฒนาบุคลากรในองค์การมักจะมองในเรื่องทักษะและความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่แล้ว ก็ทำการฝึกอบรมเพื่อปรับปรุงพัฒนาคนให้มีความสามารถสูงขึ้น อันจะมีผลดีในการทำงานให้ดีขึ้น

  2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร  ยกตัวอย่างประกอบ
·       การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
1. วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่ต้องการทำให้องค์การบรรลุผลสำเร็จที่คาดหวังไว้ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามภารกิจขององค์การ
- การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี โดยให้ผู้นำและสมาชิกภายในทีม มีส่วนร่วมในการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ควรกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ให้ชัดเจนที่ผลงานมากกว่าการกระทำ
- ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ใช้เป็นเครื่องมือในการรวมพลังในการทำงาน และใช้เป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในงาน
- คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ที่ดี คือ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เข้าใจได้ง่ายสามารถปฏิบัติได้จริง ไม่ขัดต่อข้อบังคับและนโยบายอื่นๆในหน่วยงาน 
2. ความเปิดเผยต่อกันและการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ สมาชิกในทีมจะต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา แก้ปัญหาอย่างเต็มใจและจริงใจ การแสดงความเปิดเผยของสมาชิกในทีมจะต้องปลอดภัย พูดคุยถึงปัญหาอย่างสบายใจ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี โดยมีการเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลอื่นในด้านความต้องการ ความคาดหวังความชอบหรือไม่ชอบ ความรู้ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด จุดเด่นจุดด้อยและอารมณ์ รวมทั้งความรู้สึก ความสนใจนิสัยใจคอ
3. การสนับสนุนและความไว้วางใจต่อกัน สมาชิกในทีมจะต้องไว้วางใจซึ่งกันและกันโดยทีละคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องกลัวว่าได้รับผลร้ายที่จะมีต่อเนื่องมาภายหลัง สามารถทำให้เกิดการเปิดเผยต่อกัน และกล้าที่จะเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี
4. ความร่วมมือและการให้ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ ผู้นำกลุ่มหรือทีมจะต้องทำงานอย่างหนักในอันที่จะทำให้เกิดความร่วมมือดังนี้
4.1 การสร้างความร่วมมือกับบุคคลอื่น ในการสร้างความร่วมมือเพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกันและมีบุคคลอยู่สองฝ่ายคือ ผู้ขอความร่วมมือ และผู้ให้ความร่วมมือ  ความร่วมมือจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายผู้ให้เต็มใจและยินดีจะให้ความร่วมมือเหตุผลที่ทำให้ขาดความร่วมมือไม่ช่วยเหลือกัน คือ การขัดผลประโยชน์ ไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่า สัมพันธภาพไม่ดี วัตถุประสงค์ของทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน ไม่เห็นด้วยกับวิธีทำงานขาดความพร้อมที่จะร่วมมือ หรืองานที่ขอความร่วมมือนั้น เลี่ยงภัยมากเกินไป หรือเพราะความไม่รับผิดชอบต่อผลงานส่วนรวม
4.2 การขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกันตามความคิด หรือ การกระทำที่เกิดขึ้นระหว่างสองคนขึ้นไป หรือระหว่างกลุ่ม โดยมีลักษณะที่ไม่สอดคล้อง ขัดแย้ง ขัดขวาง ไม่ถูกกันจึงทำให้ความคิดหรือการทำกิจกรรมร่วมกันนั้น เสียหาย หรือดำเนินไปได้ยากไม่ราบรื่น ทำให้การทำงานเป็นทีมลดลง นับเป็นปัญหา อุปสรรคที่สำคัญยิ่ง
- สาเหตุของความขัดแย้ง ผลประโยชน์ขัดกัน
- ความคิดไม่ตรงกัน หรือ องค์กรขัดแย้งกัน 
 - ความรู้ความสามารถต่างกัน ทำให้มีลักษณะการทำงานต่างกัน
- การเรียนรู้ต่างกัน ประสบการณ์ที่มีมาไม่เหมือนกัน
- เป้าหมายต่างกัน
4.3 วิธีแก้ความขัดแย้ง การแก้ความขัดแย้งเป็นเรื่องของทักษะเฉพาะบุคคล การแก้ปัญหาความขัดแย้งในการทำงานเป็นทีม ควรใช้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่พูดในลักษณะที่แปลความหรือมุ่งตัดสินความ ไม่พูดในเชิงวิเคราะห์ ไม่พูดในลักษณะที่แสดงตนเหนือกว่าผู้อื่น  หรือไม่พูดในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด เสียหน้า อับอาย เจ็บใจ หรือการพยายามพูดหาประเด็นของความขัดแย้ง ไม่กล่าวโจมตีว่าใครผิดใครถูก
5. กระบวนการการทำงาน และการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสม งานที่มีประสิทธิภาพนั้นทุกคนควรจะคิดถึงงานหรือคิดถึงผลงานเป็นอันดับแรก ต่อมาควรวางแผนว่าทำอย่างไร งานจึงจะออกมาดีได้ดังที่เราต้องการ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะตัดสินใจนั้นจุดมุ่งหมายควรจะมีความชัดเจนและสมาชิกทุกคน ควรมีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของการทำงานเป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3


1. การจัดการเรียนการสอน  จัดชั้นเรียน  เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร 
           - ยุคก่อนศตวรรษที่ 21  ประเทศไทยได้เตรียมความพร้อม โดยมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อภาคธุรกิจ  การศึกษา  สังคม  ซึ่งเน้นการให้ความสะดวกในด้านการบริหารจัดการ  และให้เกิดความคล่องตัวต่อการดำเนินงานไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน  จึงได้ว่างนโยบาย  e-Thailand ขึ้น  เพื่อเปิดประตูสู่การพัฒนาประเทศ  ทั้งนี้ได้เน้นนโยบายหลักทางด้านสังคม  เพื่อลดช่องว่างทางสังคม  เปิดเสรีทางการค้า  สนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์  นโยบายระหว่างประเทศ  ผลักดันโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
แต่ยุคศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษาไทยในโรงเรียนเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาในมิติที่กว้างขึ้น หลักสูตรการเรียนการสอนมีความเป็นสากลมากขึ้น และจะมีการพัฒนาทักษะการคิด  การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสอนภาษาต่างประเทศ  และด้านการบริหารและการจัดการศึกษา  เน้นจะด้านการจัดพิมพ์เอกสาร  ทำฐานข้อมูลการประมวลผล  เพื่อจัดทำสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับการประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในทุกระดับ

2. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษาคำถาม






- มีความเป็นผู้นำ ที่มีวิสัยทัศน์ จะต้องเป็นผู้นำที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา  ไม่หยุด หมั่นศึกษาหาความรู้  ปรับตนเองเข้ากับสถานการณ์  ทันต่อเหตุการณ์เป็นพลวัต  โดยใช้วิธีการ  ระบบสารสนเทศที่ถูกต้องรวดเร็วและนวัตกรรม  ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่  เป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารงานสามารถใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา คือการสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดทางการศึกษาแก่ผู้เรียนด้วยสื่อ   เช่น   คอมพิวเตอร์  มัลติมีเดีย (สื่อประสม) ฯลฯ และผู้มีคุณธรรมตามแนวทางคำสอนของทุกศาสนาโดยทางเทคโนโลยีการกำหนดนโยบาย  การปฏิบัติ   การตรวจสอบ  การประเมินประสิทธิผล   ซึ่งคงจะต้องตามความเปลี่ยนแปลงในกระแสของโลก  ที่จะกำหนดตัวบ่งชี้  มาตรฐานของทุกสิ่งที่เกิดมาว่า  ควรอยู่ต่อไป”  หรือ  ควรพัฒนาขึ้นไปอีก"  และนอกจากนี้จะต้องมี 2 ปัจจัยหลัก คือศรัทธาและปัญญา คือครูต้องมีศรัทธาในอาชีพครู และสร้างศรัทธาในเด็กได้ด้วย และปัญญานั้นครูต้องลับสมองให้คมเสมอ ด้วยการพยายามเรียนรู้และติดตามให้ตัวเองทันสมัยและก้าวหน้า ตลอดจนทำให้ศิษย์ขี้สงสัยให้ได้ เพราะความสงสัยจะทำให้เด็กใฝ่รู้"


กิจกรรมที่ 2


ทฤษฏีการบริหารการศึกษา
มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกาย
 2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของ
 4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองมีคุณค่าสูง     
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)
    หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริง
มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป
3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ
แมคเกรเกอร์ การจัดการจากพื้นฐานของบุคคลของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1.) Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ ปัจเจกบุคคล
2.) Short Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว
3.) Individual Decision Making สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ
วิลเลี่ยม โอชิ มองเห็นข้อดีและข้อเสียของ 2 ทฤษฎีตัวอย่าง ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย
1.) ใช้วิธีแบบ Long Term Employment หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น ซึ่งเป็นทางสายกลาง
2.) ประการที่สอง ที่เรียกว่า Individaul Responsibility คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล
3.) และประการที่ 3 คือ ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม
การจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
1. การวางแผน(Planning)                                                 2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)  4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol) หลักการจัดการ 14 ประการ (Fayol's Fourteen Principles of Management) 
ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
1. การจัดแบ่งงาน (division of work)    2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority)
3. ความมีวินัย (discipline)                        4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command)
5. เอกภาพในทิศทาง                                6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม            8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization)
9. สายบังคับบัญชา (scalar chain)         10. ความเป็นระบบระเบียบ (order)
11. ความเท่าเทียมกัน (equity)               12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร
13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative)       14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ (esprit de corps)
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6  ประการมีดังนี้ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy)
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection)
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations)
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality)
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ (Career Orientation) Luther Gulick : POSDCORB
Luther Gulick   กิจกรรม 7 ประการมีดังนี้
P คือการวางแผน (planning) หมายถึงการกำหนดเป้าหมายขององค์การว่าควรทำงาน
 O คือการจัดองค์การ (organizing) หมายถึงการจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการภายในองค์การ
 D คือการสั่งการ (directing) หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา
 S คือการบรรจุ (staffing) หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่
 CO คือการประสานงาน(co-ordinating) หมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่าง ๆ
R คือการรายงาน (reporting) หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การให้ทุกฝ่ายทราบ
เฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)ได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ1.ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่
* นโยบายขององค์กร * การบังคับบัญชา * ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน * สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน * ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ * ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
2. ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
* การทำงานบรรลุผลสำเร็จ* การได้รับการยอมรับ* ทำงานได้ด้วยตนเอง* ความรับผิดชอบ* ความก้าวหน้าในงาน* การเจริญเติบโต
นอกจากนี้เฮิร์ซเบอร์กยังบอกอีกว่า
1.องค์กรควรจะให้คนทำงานที่ท้าทายอย่างเต็มความสามารถ
2.พนักงานที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มความสามารถ
 3.หากงานไม่มีความท้าทาย
ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุด
 2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบ
 3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ

  
บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความเป็นมาและพัฒนาการบริหาร
                การบริหาร  เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ซึ่งเรียกตัวเองว่า “Cameralists”ให้คำจำกัดความ  การบริหาร  หมายถึง  การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆ 
การบริหารการศึกษา  หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ  ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ 
ปรัชญาของการศึกษามีอยู่  13  ประการ  คือ
1.ผู้บริหารต้องใช้ความฉลาดไหวพริบมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ
2. ผู้บริหารต้องเปิดให้คนจำนวนมากเข้าร่วมในการทำงาน
3.ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน
4.ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมายของการศึกษาเป็นหลักการบริหาร
5.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้ประสานประโยชน์
6.ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้คนเข้าพบทำความเข้าใจกันได้ทุกเมื่อ
7.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้นำ
8. ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือนักศึกษาผู้ยึดมั่น
9. ผู้บริหารต้องเสียสละทุกอย่าง
10. ผู้บริหารจะต้องประสานงาน
11.ผู้บริหารจะต้องบริหารงานอยู่เสมอ
12. ผู้บริหารต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร
13.ผู้บริหารต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ  และแสวงหาความชำนาญ

บทที่  2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
2.1 วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ
การบริหารงานของรัฐหมายถึง  การบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน 
2.2  วิวัฒนาการด้านธุรกิจ
การจัดการ  เป็นสาขาที่สำคัญ  นอกจากการใช้  “ระเบียบวินัยในการทำงาน”  การบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์  ระเบียบปฏิบัติวัตถุประสงค์และการรวมพลังของกลุ่ม 
2.3  การแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
2.3.1  ยุคที่  นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม
                การจัดการงานซึ่งได้ปฏิบัติ  โดยอาศัยหลักควบคุมทาง
 2.3.2  การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
                เนื่องด้วยองค์การปัจจุบันมีความสับสนมาก  การต่อรองการแสดงความไม่พอใจของพนักงานในเรื่องอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารมีอยู่เสมอ 
2.3.3  ยุคที่  2  ยุค  Human  Relation  Era  ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์
                ความรู้ความชำนาญของผู้บริหาร  คือ  ผู้บริหารต้องมีความรู้  ความฉลาด  และมีประสบการณ์
 2.3.4  การประยุต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
2.3.5  ยุคที่  ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ
                การจัดองค์การที่เป็นทางการ จึงให้ทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษยสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล  มุ่งด้านระบบขององค์การ  และสนใจจะพูดถึงพฤติกรรมศาสตร์
2.3.6  การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
2.3.7  ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ
2.3.8  การประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา

บทที่  3
งานบริหารการศึกษา
การควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืนและลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้
1.การผลิต  หมายถึง  กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น  ในทางการศึกษา
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน  หมายถึง  กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี  หมายถึง  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร  คือ  การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่  4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน  ที่เรียกว่าการบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา  การบริหารราชการ  และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกัน  และปรัชญาการศึกษา  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี  2  เรื่อง  คือ  1.การจัดระบบสังคม,2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษาสำหรับหลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับชาติ  ระดับท้องถิ่น  ระดับโรงเรียน      คือ  จะต้องรู้จักเด็กทุกคน  โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน  และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียมกันโดยกระบวนการบริหารการศึกษา  เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา  ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน
                                                                บทที่  5
องค์การและการจัดองค์การ
5.1        ความหมายขององค์การ  เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น  3  ลักษณะใหญ่ๆคือ
1. องค์การทางสังคม         2.องค์การทางราชการ       3.องค์การเอกชน
องค์การตามแนวคิด หมายถึง  ส่วนประกอบที่เกิดจากระบบย่อยหลายระบบที่มีปฏิสัมพันธ์ 
5.2   แนวคิดในการจัดองค์การ
1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง  “ผู้ปฏิบัติงาน”
3.  แนวในการจัดการองค์การ  จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
5.3 ความสำคัญของการจัดองค์การ
                องค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ  เพื่อให้พนักงานขององค์การ
5.4  หลักการในการจัดองค์การ
1.  หลักวัตถุประสงค์                         2.  หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง
3.  หลักการประสานงาน                  4.   หลักการบังคบบัญชา
5.  หลักความรับผิดชอบ                    6.  หลักความสมดุล
7.  หลักความต่อเนื่อง                        8.  หลักการโต้ตอบและการติดตาม
9.  หลักขอบเขตของการควบคุม      10.  หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
11.  หลักตามลำดับขั้น                       12.  หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
5.5  องค์ประกอบในการจัดองค์การ
                1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ           2.  การแบ่งงานกันทำ
                3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
5.6  ประเภทขององค์การรูปนัย   แบ่งออก  ประเภท
                1.  สมาคมเพื่อประโยชน์ของสมาชิก            2.  องค์การทางธุรกิจ
                3.  องค์การเพื่อบริการ                                       4.  องค์การเพื่อสาธารณชน
5.7  ทฤษฎีองค์การ
              ทฤษฎีองค์การ  คือ  ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การอันด้มาจากสังคมวิทยา  รัฐศาสตร์  และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์      
5.8  ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา
                ระบบราชการ  หมายถึง  ระบบการบริหารที่มีลักษณรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก 
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี มีความหมายว่ากระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมาก ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว คือ สื่อ ช่องทางที่สื่อผ่านและกระบวนการ รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร การจัดเตรียม การสังเกตการณ์ของกระบวนการ การจำแนกปัจจัยผันแปร ชึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดทิศทาง ช่วยให้ผู้บริหารจับประเด็นปัญหาของการติดต่อสื่อสาร และช่วยป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารจะมีผู้ส่งสาร ช่องทาง ข้อมูล ผู้รับสาร การตอบรับ ส่วนการติดต่อสื่อสารจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสารมีความเข้าใจระหว่างผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำงานไปด้วยดี ช่วยสร้างทัศนคติเกิดแรงจูงใจ เพื่อเกิดแรงจูงใจ
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์ ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน ผู้นำจะกลุ่มยกย่องเนื่องจากมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษเหนือบุคคลอื่นเนื่องจากผู้บริหารมีรูปแบบเป็นทางการ
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่งๆร่มมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงานคือต้องทราบนโยบาย แผนงาน งานที่รับผิดชอบ และทรัพยากร ส่วนหลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสาร ความร่วมมือ การประสานงานและนโยบายที่ดี และในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วควรจะมีโครงสร้างที่จัดเป็นระบบแบบแผน มีแผนภูมิแสดงสายการบังคับ มีการเขียนนโยบาย มีระบบเสนองาน มีเครื่องมือและระบบสื่อสารที่เพียงพอและเปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วม การประสานงานที่ดีจะมีประโยชน์หลายอย่างคือช่วยลดการขัดแย้ง ลดปัญหาที่ซับซ้อน ทำให้เกิดเอกภาพในการทำงาน ช่วยให้ประหยัดเงิน เวลา
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจคือการชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือการสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ บางครั้งตัดสินใจถูกแต่การสั่งงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน  ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล ความลำเอียงส่วนบุคคล ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก และการแสวงหาคำแนะนำ
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ  จะมีหลายด้าน ดังนี้   1.การบริหารงานวิชาการ จะเป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ จึงถือว่างานวิชาการท้าทายผู้บริหารการศึกษา งานวิชาการจะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และผู้บริหารจะต้องรับรู้ รับผิดชอบ ควบคุมดูแลในการดำเนินการวางแผน  2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติให้ทำงานอย่างมีปะสิทธิภาพ  ความสำคัญของการบริหารบุคคล คือ คนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อสรรหาและเลือกสรรคนดี มีความรู้ความสามารถมาทำงานให้เกิดผลสูงสุดอยู่กับองศ์การนานๆ  3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ความสำคัญจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นให้เครื่องจักร(งานวิชาการ) ทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน หน้าที่ของผู้บริหารงานธุรการ คือจะเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายงานธุรการ ติดตามและวางแผนการปฎิบัติงาน จัดระบบงาน  4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด  5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ