ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้
วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keyword ว่า
"แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง
วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
พกพาง่าย น้าหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว
หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ( Touch-screen )ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ
แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android
IOS และ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น
Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G
ดังนั้นแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ
แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต
แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่
ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้คานิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปเช่น
แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC ) ซึ่งมาจากคาว่า Tablet
Personal Computer และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet ) นอกจากนี้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต
( Tablet PC ) นับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กาลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน
เป็นสื่อที่ถูกนามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงทาให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน
แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้กำหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน
ที่มา : http://www.tabletd.com/
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย
3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า
"สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน
การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ซึ่งในความเป็นจริงประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งอาเซียน โดยมี ๓ เสาหลัก ได้แก่
ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง
และความร่วมมือทางสังคม วัฒนธรรม ซึ่งเสาหลักความร่วมมือทางสังคมมีความก้าวหน้ามากที่สุด
โดย ศธ.ได้เตรียมความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนี้
1.จัดให้มีหลักสูตรอาเซียนศึกษา
เพื่อให้คนไทยเข้าใจอาเซียน เข้าใจการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน
ที่มีวัฒนธรรมการกิน การอยู่ การดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน จึงจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน
ไม่ว่าจะเป็น จีน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่ง
ศธ.จะสร้างหลักสูตรที่สามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องภายใต้การรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกันของคนจำนวนกว่า
๖๐๐ ล้านคน โดยจะเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
2.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหาร ครู และนักเรียน
ซึ่งขณะนี้ประเทศจีนมีความประสงค์จะส่งครูมาสอนในโรงเรียนไทยเป็นจำนวนมาก
3.การแลกเปลี่ยน ICT
ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะต้องเชื่อมโยงภายในประชาคมอาเซียนกันได้
ซึ่งได้มีการจัดตั้ง ASEAN University และ Cyber
University เพื่อการเชื่อมโยง
นอกจากนี้ยังได้เตรียมการเพื่อให้มีการรับรองคุณวุฒิการศึกษาระหว่างกัน
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เรียน ซึ่งขณะนี้ไทย-จีน และไทย-มาเลเซีย
สามารถรับรองคุณวุฒิได้แล้ว แต่สำหรับฟิลิปปินส์ยังไม่สามารถรับรองได้
4.การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของประชาคมอาเซียน
ศธ.ได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนที่จบชั้น ป.๖ สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้
เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
รวมทั้งจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการค้นคว้าหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต
และสื่อการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายมากขึ้น
โดยได้เร่งผลักดันและดำเนินการในหลายด้าน เช่น
๑)
สร้างศูนย์อำนวยการเพื่อให้ครูเจ้าของภาษามาสอน ครูเกษียณอายุก่อนกำหนด
และครูอาสาสมัครจากประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน และฟิลิปปินส์
มาสอนภาษาในโรงเรียน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
๒)
พัฒนาการเรียนการสอนแบบ English for Integrated Studies (EIS) จะมีการบูรณาการการสอนภาษาอังกฤษในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ได้จัดตั้งงบประมาณเพื่อให้ครูที่จะสอนวิชาเหล่านี้ ได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกัน
นักเรียนก็สามารถเชื่อมโยงและพูดคุยกับเพื่อนต่างชาติในประชาคมอาเซียนได้
๓)
พัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคต (The Global Class) ซึ่งเป็นห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย
เช่น การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
การสอนภาษาอังกฤษของติวเตอร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม
โดยครูจะเป็นผู้ควบคุมการสอนและทดสอบความเข้าใจของนักเรียน
หากต้องการจะให้สอนซ้ำในช่วงใด ก็สามารถทำได้ทันที
ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล โรงเรียนดีประจำอำเภอ
และลงไปสู่โรงเรียนดีประจำตำบล
๔)
การอบรมภาษาอังกฤษให้กับครู เพื่อให้ครูยุคใหม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และใช้
ICT ได้
ซึ่งในยุคปัจจุบันระบบการศึกษาต้องรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและครูจะต้องเท่าทันต่อเทคโนโลยีด้วย
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน
คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ
ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
"การที่ครูมีความรู้ ความสามารถ และแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา)
และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
และได้พูดถึง "ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ"โดยหยิบยกมาจาก
Diann De Pasquale ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ได้เสนอว่า ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน ควรมีพฤติกรรม
7 ประการ คือ
1.หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน
2. อยู่กับปัจจุบัน /ทันสมัย
3. หาข้อมูล มีความรู้ที่เกี่ยวกับเด็ก
4. ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง
7. ท้าทายให้เด็กได้คิด
จากบทความข้างต้นของ
ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง สามารถสรุปได้ว่า “ครู” จัดอยู่ใน “วิชาชีพทางการศึกษา”
ซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเป็นการเฉพาะ
เป็นวิชาชีพที่มีผลกระทบต่อผู้รับบริการและสาธารณชน
จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า
การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร
ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้
นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
การใช้ Blog สนับสนุนการเรียนการสอน
จะช่วยให้ทั้ง
ผู้เรียนและผู้สอนสื่อสารข้อมูลข่าวสารถึงกันได้อย่างสะดวก และเป็นโอกาสให้คนอื่นๆที่เข้าใช้อินเตอร์เน็ตได้ สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็น
ต่อยอดความรู้ความคิดได้อย่างไม่จำกัดอีกด้วย
นอก จากนี้ Blog ยังสามารถเป็นแหล่งจัดเก็บและนำเสนอผล
งานของครูและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
การพัฒนาความรู้ ความสามารถให้ครูเข้าใจและสามารถสร้าง
Blog เพื่อ ใช้ในการเรียนการสอนได้ จะเป็นหนทางไปสู่การปฏิรูป
การเรียนการสอนให้เป็นผลสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
มีความพยายามพอสมควร
เพราะการใช้ Blog เราตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์ตลอดก็เป็นเรื่องไม่ยากเลย
และสนุกในการใช้ Blog อีกด้วย
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
เข้าเรียนทุกคาบ
เพราะเป็นวิชาไม่หน้าเบื่อ เรียนแล้วมีความสุข
4.3
ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
ทำงานส่งตรงเวลาทุกครั้ง
4.4
ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
ใช้คิดรวบยอดในการทำงาน พิจารณาเอาแต่จุดสำคัญ
และประเด็นการทำงานให้ตรงตามเป้าหมายที่อาจารย์กำหนดไว้
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง
เขียนอธิบายลงในบล็อก
มีความสัตย์จริง
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ
ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
เกรด A เพราะคิดว่าการทำ Blog ก็มีความรู้สึกชอบเพราะฉะนั้นสิ่งเราชอบก็สามารถทำงานออกมาได้ดี